วันศุกร์ที่ 5 สิงหาคม พ.ศ. 2554

มีสลึงพึงบรรจบให้ครบบาท



                   มีสลึงพึงบรรจบให้ครบบาท      อย่าให้ขาดสิ่งของต้องประสงค์
จงใช้น้อยกินน้อยค่อยบรรจง                       อย่าจ่ายลงให้มากจะยากนาน

                                                                    บางบทจาก สุภาษิตสอนหญิง สุนทรภู่

                   จากกบทกลอนข้านต้น กล่าวถึงควาเพียรพยายามในการเก็บออม โดยไม่ตะหนี่ สิ่งของที่จำเป็นต้องใช้ก็ต้องหามาใช้ตามกำลังของตนที่มี อย่าใช้จ่ายให้เกินกำลังทรัพย์ของตนเอง

                    จาก "มีสลึงพึ่งบรรจบให้ครบบาท" เป็นที่ทราบกันว่า " 4 สลึง ( 1 สลึง = 25 สตางค์) เท่ากับ 1 บาท เป็นหน่วยในมาตราเงินไทย และ ก็มีอีกหลายหน่วย ดังในมาตราเงินไทยโบราณ

                                       มาตราเงินไทยโบราณ
                                                                ที่มา http://www.oknation.net/blog/surasakc/2009/09/11/entry-1

๒ โสฬส เท่ากับ ๑ อัฐ

๒ อัฐ เท่ากับ ๑ ไพ 

๔ ไพ เท่ากับ ๑ เฟื้อง 

๒ เฟื้อง เท่ากับ ๑ สลึง 

๔ สลึง เท่ากับ ๑ บาท 

๒๐ ตำลึง เท่ากับ ๑ ชั่ง

๔ บาท เท่ากับ ๑ ตำลึง
  
                          เป็นความรู้ที่เราคนไทยที่จะไม่ลืม ไม่ควรให้เลือนหาย เพราะทุกวันนี้ที่ใช้ก็หน่วย " บาท " และ " สตางค์ "



วันพุธที่ 3 สิงหาคม พ.ศ. 2554

คิดให้สนุกๆ คณิตศาสตร์ กับการทายวันเกิด

การทายวันเกิด

นำไปใช้ทายกับเพื่่อน ๆ  เล่นๆ สนุกๆ นะครับ


1. ให้คุณ เอาวันเกิด  คูณด้วย  20
2.  ผลลัพธ์ที่ได้  บวกด้วย 10 
3.  ได้ผลลัพธ์เท่าไร  หารด้วย  2
4.  ผลลัพธ์สุดท้าย  ตัวเลข  หนึ่งหรือสอง  ตัวข้างหน้า (ผลลัพธ์สุดท้ายจะมีสองหรือสามหลัก) คือ  วันเกิดของคุณ ใช่หรือเปล่า

วันอังคารที่ 2 สิงหาคม พ.ศ. 2554

ประวัติคณิตศาสตร์ สมัยฟื้นฟูศิลปวิทยา

สมัยฟื้นฟูศิลปวิทยา 
           (ประมาณ พ.ศ. 1980-2143) สงครามครูเสดระหว่างชาวยุโรปกับชาวอาหรับ ซึ่งกินเวลาร่วม 300 ปี สิ้นสุดลง  ชาวยุโรปเริ่มฟื้นฟูทางการศึกษา และมีการก่อตั้งมหาวิทยาลัยกันขึ้น ชาวยุโรปได้ศึกษาวิชาคณิตศาสตร์จากตำราของชาวอาหรับ ในปี พ.ศ. 1983 คนรู้จักวิธีพิมพ์หนังสือ ไม่ต้องคัดลอกดังเช่นแต่ก่อน ตำราคณิตศาสตร์จึงแพร่หลายทั่วไป ชาวยุโรปแล่นเรือมาค้าขายกับอาหรับ อินเดีย ชวา และไทย ในปี  พ.ศ. 2035 คริสโตเฟอร์ โคลัมบัส (Christopher Columbus ประมาณ  ค.ศ. 1451-1506) นักเดินเรือชาวอิตาเลียนแล่นเรือไปพบทวีปอเมริกาใน พ.ศ. 2054 ชาวโปรตุเกสเข้ามาค้าขายในกรุงศรีอยุธยา การค้าขายเจริญรุ่งเรือง ชาวโลกสนใจคณิตศาสตร์มากขึ้นเพราะใช้เป็นประโยชน์ได้มากในการค้าขายและเดินเรือ เราพบตำราคณิตศาสตร์ภาษาเยอรมัน พิมพ์ใน พ.ศ. 2032 มีการใช้เครื่องหมาย +  และ -  ตำราคณิตศาสตร์ที่แพร่หลายมากคือตำราเกี่ยวกับเลขาคณิต อธิบายวิธีบวก ลบ  คูณ  หารจำนวนโดยไม่ต้องใช้ลูกคิด การหารยาวก็เริ่มต้นมาจากสมัยนี้ และยังคงใช้กันอยู่ตราบเท่าปัจจุบัน  นักดาราศาสตร์ใช้คณิตศาสตร์ในงานค้นคว้าเกี่ยวกับดวงดาวบนท้องฟ้า นิโคลัส คอเปอร์นิคัส (Nicolus Copernicus  ค.ศ. 1473-1543) นักดาราศาสตร์ผู้อ้างว่าโลกหมุนรอบดวงอาทิตย์เกิดในสมัยนี้

ที่มา  สารานุกรมไทยสำหรับเยาวชนฯ เล่มที่ 6